ประเด็นสำคัญโรคกระดูกพรุน
โดย ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์
โรคกระดูกพรุนเป็นความผิดปกติของระบบกระดูกที่มีปริมาณของมวลกระดูกต่ำ และคุณภาพโครงสร้างของกระดูกที่ไม่ดี ซึ่งทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก โรคกระดูกพรุนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน (postmenopausal) เกิดขึ้นเมื่อความหนาแน่นของมวลกระดูกลดต่ำลงจากส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมากกว่า 2.5 เมื่อเทียบกับผู้หญิงสุขภาพดีในวัยก่อนหมดประจำเดือน ซึ่งตัวเลขที่เบี่ยงเบนต่ำกว่ามาตรฐาน 2.5
โรคกระดูกพรุนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
โรคกระดูกพรุนที่ไม่มีสาเหตุของการเกิด (Primary osteoporosis) คือโรคกระดูกพรุนที่มีการสูญเสียมวลกระดูกเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น
ชนิดที่ 1 เชื่อว่าโรคกระดูกพรุนเกิดจากการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ทำให้อัตราของการทำลายกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูก โดยรวมจึงทำให้ปริมาณของมวลกระดูกลดลง
ชนิดที่ 2 โรคกระดูกพรุนที่เกิดจากอายุเพิ่มมากขึ้น ทำให้อัตราการสร้างกระดูกลดลง
ในปี พ.ศ.2537 องค์การอนามัยโลกได้ให้คำจัดความของโรคกระดูกพรุนตามการวัดหาความหนาแน่นของมวลกระดูกและประวัติของการเกิดกระดูกหัก เกณฑ์ในการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุน เมื่อวัดค่าของมวลกระดูกแล้วมีค่าเท่ากับหรือน้อยกว่า -2.5 ของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจากค่ามวลกระดูกในกลุ่มที่มีช่วงอายุ 20 -30 ปี ตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกพบว่าประมาณร้อยละ 20-30 ของผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนในประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีปัญหาโรคกระดูกพรุน และมีผู้ป่วยประมาณ 1.3 ล้านคนเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน
การซักประวัติ
โรคกระดูกพรุนเป็นภัยเงียบ มักไม่แสดงอาการใดๆจนกระทั่งมีการเกิดกระดูกหัก ดังนั้นการคัดกรองบุคคลทั่วไปจึงมีความจำเป็น รวมทั้ง
การตรวจร่างกาย
การตรวจทางรังสี
การตรวจวัดหาค่าความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone mass density) เป็นสิ่งสำคัญในการประเมินให้การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน และเป็นการตรวจสอบเพื่อติดตามผลตอบสนองต่อการรักษาของผู้ป่วยมาตรฐานการตรวจหาความหนาแน่นของกระดูกต้องตรวจเด้วยเครื่อง Central dual-energy absorptiometry ซึ่งพบว่าเมื่อมีการลดลงของความหนาแน่นมวลกระดูกทุกๆ 1 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากค่าปกติในคนวัยหนุ่มสาว (อายุประมาณ 20 – 30 ปี) จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักเพิ่มมากขึ้นประมาณ 2 – 3 เท่า
การตรวจด้วยเครื่อง peripheral technologies เช่น peripheral quantitative computed tomography เครื่อง peripheral dual-energy x-ray absorptiometry และเครื่อง quantitative ultrasonography ซึ่งเป็นการตรวจบริเวณส่วยรยางค์ของร่างกาย เช่นกระดูกส้นเท้า กระดูกข้อมือ ใช้เป็นเพียงแค่เครื่องมือในการคัดกรองโรคเท่านั้น ไม่ได้ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อวินิจฉัยโรค
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุน ควรได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจว่ามีสาเหตุของโรคที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนหรือไม่ การตรวจทางห้องปฏิบัติการได้แก่ การตรวจซีรั่มเพื่อหาระดับของ แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม เครียทินีน ระดับของฮอร์โมนพาราไทรอยด์ ระดับของวิตามินดี และระดับของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเพศชาย ในผู้ป่วยบางรายที่มีกระดูกบางมากๆอาจจำเป็นต้องตรวจ electrophoresis ในซีรั่มและในปัสสาวะเพื่อคัดกรองโรค multiple myeloma
การตรวจการขับถ่ายปัสสาวะใน 24 ชั่วโมงจะมีประโยชน์ในการติดตามภาวการณ์ดูดซึมของแคลเซียมด้วย
การวินิจฉัยแยกโรค
การรักษา
การรักษาโรคกระดูกพรุนประกอบด้วยหลายส่วนด้วยกันได้แก่
การปรับปรุงการใช้ชีวิตประจำวัน (lifestyle modifications)
การรับสารอาหาร
การรักษาด้วยยา
การพยากรณ์โรค
การรักษาด้วยยาในกลุ่ม bisphosphonates และยา teriparatide สามารถช่วยลดอุบัติการณ์ในการเกิดกระดูกหักที่บริเวณกระดูกสันหลังได้ร้อยละ 40-70 และลดอุบัติการณ์การเกิดกระดูกสะโพกหักได้ร้อยละ 30-50 ในผู้ป่วยที่มีประวัติการเกิดกระดูกหักและไม่ได้รับการรักษาประมาณร้อยละ 50 จะมีโอกาสเกิดกระดูกหักครั้งที่สอง ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า
ข้อเพิ่มเติม
การเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดมีความจำเป็น เพื่อประเมินการปฏิบัติตน และการรับประทานยาของผู้ป่วย รวมทั้งการตอบสนองต่อการรักษา ซึ่งมีผลต่อการรักษาโรคกระดูกพรุน
การตรวจวัดหาค่าความหนาแน่นกระดูฏควรกระทำทุก 1 ปีหลังจากที่เริ่มให้การรักษา ถ้าตรวจพบว่าผู้ป่วยตอบสนองดีต่อการรักษาเช่น มีการเพิ่มขึ้นของค่าความหนาแน่นของมวลกระดูก และไม่เกิดภาวะกระดูกหัก การตรวจหาค่าความหนาแน่นกระดูกอาจจะทำทุก 2 ปีก็ได้ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา ควรจะต้องทำการตรวจหาสาเหตุว่ามีโรคอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคกกระดูกพรุนอีกครั้ง (secondary osteoporosis)
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย
แจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่าโรคกระดูกพรุนเป็นโรคเรื้อรังที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาและการเฝ้าติดตามอย่างต่อเนื่อง แลระยะเวลานาน ความสำเร็จของการรักษาโรคกระดูกพรุนขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนวิ๔การดำเนินชีวิต การรับประทานอาหาร และการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
ข้อบ่งชี้ในการตรวจวัดความหนาแน่นกระดูก
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกระดูกและข้อ ปัจจุบันทำงานเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
© 2023 Taninit. All rights reserved.