กระดูกสะโพกหักจากโรคกระดูกพรุน ความเสี่ยงสำหรับผู้สูงอายุ
โดย ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์
แนวทางการรักษา
กระดูกสะโพกหักในปัจจุบันที่ดีและเหมาะสมที่สุดคือการรักษาด้วยการผ่าตัด จากงานวิจัยของคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาพบว่า การรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีการไม่ผ่าตัด นอนดึงให้กระดูกติด จะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยในกลุ่มที่รักษาด้วยการผ่าตัดมากถึง 2 – 3 เท่า ดังนั้นการรักษาผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักอันเนื่องมาจากโรคกระดูกพรุนด้วยการผ่าตัดจะช่วยรักษาให้ผู้ป่วยสามารถลุกเดิน เคลื่อนไหวได้ไวขึ้น มีการเกิดโรคแทรกซ้อนน้อย และช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ การผ่าตัดส่วนใหญ่นั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งการหักของกระดูกสะโพกบางครั้งก็ใช้วิธีการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกด้วยแผ่นเหล็ก บางครั้งก็ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
ก่อนผ่าตัดแพทย์จะต้องทำการประเมินสภาวะต่างๆของร่างกายอย่างละเอียดทั้งในส่วนของกระดูกสะโพกที่หัก สภาพทั่วไปของร่างกาย การทำงานของหัวใจ ปอด การตรวจเลือดเพื่อดูภาวะการทำงานของตับ ไต และเกลือแร่ในร่างกาย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสภาพร่างกายของผู้ป่วยพร้อมที่จะรับการผ่าตัดได้ และให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยมากที่สุดจากการผ่าตัด นอกจากนี้แพทย์จะอธิบายให้ญาติพี่น้องและผู้ป่วยเพื่อความเข้าใจในเรื่องของกระดูกสะโพกหัก วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัด ประโยชน์จากการรักษา รวมทั้งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัด เช่น การเกิดลิ่มเลือดอุดกั้นที่ปอด การสูญเสียเลือด การดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัด โปรแกรมการทำกายภาพบำบัดฟื้นฟูสภาพร่างกาย ผลลัพธ์ระยะยาว การพยากรณ์โรค ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดคือควรทำหลังจากที่ได้ตรวจร่างกายและตรวจทางห้องทดลองอย่างละเอียดเรียบร้อยแล้วจึงทำการผ่าตัดรักษาพยาบาลให้แก่ผู้ป่วย
หลังจากที่รักษากระดูกสะโพกหักแล้วยังมีความจำเป็นต้องรับการรักษาเรื่องกระดูกพรุนต่อเพื่อป้องกันการเกิดกระดูกหักเพิ่ม เช่น การหักของกระดูกสะโพกหักอีกข้างหนึ่ง การเกิดกระดูกสันหลังหักยุบ และการหักของกระดูกในตำแหน่งอื่นๆ ผู้ป่วยเหล่านี้มีความจำเป็นต้องรับการรักษาโรคกระดูกพรุน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกระดูกหักเพิ่มขึ้นอีก เช่น ในผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังยุบจากโรคกระดูกพรุน พบว่าถ้าไม่ได้ให้การรักษาที่เหมาะสมจะพบว่าผู้ป่วยมีโอกาสเกิดกระดูกหักเพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 20
การรักษาโรคกระดูกพรุนประกอบด้วย
การปรับปรุงการใช้ชีวิตประจำวัน (lifestyle modifications)
สารอาหารสำหรับกระดูก
การใช้ยารักษาโรคกระดูกพรุน
ในปัจจุบันยาที่ใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุนมี 2 กลุ่ม คือ
ความสำเร็จของการรักษาโรคกระดูกพรุนขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต การรับประทานอาหาร แคลเซียม วิตามินดี และการใช้ยาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ รวมทั้งป้องกันไม่ให้หกล้ม หรือในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนไม่ควรก้มเก็บของเพราะจะเพิ่มโอกาสการยุบตัวของกระดูกสันหลังด้วย
สอบถามปัญหาสุขภาพกระดูกและข้อได้ที่
Line OA: https://lin.ee/swOi91Q หรือ Line ID search @DoctorKeng
Website: www.doctorkeng.com
YouTube: https://www.youtube.com/results?search_query=taninnit+leerapun
Facebook: หมอเก่งไขปัญหาปวดกระดูกและข้อ
Blockdit: https://www.blockdit.com/doctorkeng
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกระดูกและข้อ ปัจจุบันทำงานเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
© 2023 Taninit. All rights reserved.