กรณีศึกษา ปวดหลังและกระดูกพรุน
โดย ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์
สวัสดีผู้ที่เข้ามาอ่านทุกท่านครับ วันนี้มีกรณีศึกษาที่น่าสนใจมาแบ่งปันครับ ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 75 ปี มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดหลัง ปวดชาร้าวลงขาทั้ง 2 ข้าง เดินลำบาก อุจจาระและปัสสาวะปกติดีไม่มีปัญหา นั่งหรือนอนพักไม่มีอาการปวด ไม่มีอาการอ่อนแรงของขา มีอาการปวดเวลาเดิน
ภาพของผู้ป่วยมีลักษณะของกระดูกสันหลังผิดปกติ ทั้งในแนว horizontal plane and coronal plane ซึ่งเป็นลักษณะของ scoliosis and kyphotic deformity
เมื่อท่านเจอผู้ป่วยที่มีลักษณะอย่างนี้อย่าลืมซักประวัติเรื่องของโรคกระดูกพรุน ร่วมด้วย ทั้งในเรื่องของปัจจัยเสี่ยง body height ที่ลดลง รวมทั้งอาการปวดหลังของผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 65 ปี ร่วมกับมีลักษณะความผิดปกติของกระดูกสันหลัง kyphotic deformity ร่วมด้วยครับ
นอกจากนี้การส่งตรวจภาพทางรังสีคือการส่ง film T spine and LS spine ในท่า lateral จะช่วยทำให้เราสามารถประเมินดูความสูงของกระดูกสันหลังในแต่ละระดับเทียบกันได้ครับ
ภาพรังสีของผู้ป่วยจะเห้นได้ว่าในตำแหน่งของกระดูกสันหลังส่วนของ thoracic level มีกระดูกสันหลังยุบ หลายระดับ เนื่องจากความสูงของกระดูกสันหลังในแต่ละปล้องลดลง และในตำแหน่งของกระดูกสันหลังตรงบริเวณ L5 ก็มีการยุบลง เนื่องจากความสูงของกระดูกสันหลังลดลงมากกว่า 25% เมื่อเปรียบเทียบกับกระดูกที่ติดกัน ดังนั้นในผู้ป่วยรายนี้ได้รับการวินิจฉัยเป็น
ประเด็นของการเรียนรู้ในผู้ป่วยรายนี้คือ การที่เรามีความตระหนักถึงเรื่องโรคกระดูกพรุนร่วมกับอาการที่ผู้ป่วยแสดงและมาพบแพทย์ ดังนั้นเพื่อการบรรลุเป้าหมายของการรักษาเราจึงต้องรักษาเรื่องอาการปวดหลัง และรักษาเรื่องกระดูกพรุนให้ผู้ป่วยร่วมด้วย ซึ่งหลักการในการรักษาผู้ป่วยได้แก่
ซึ่งติดตามอาการผู้ป่วยอาการปวดก็ทุเลาลง สามารถเดินได้ดีขึ้นครับ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกระดูกและข้อ ปัจจุบันทำงานเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
© 2023 Taninit. All rights reserved.