โดย ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์
เก๊าต์ เป็นสาเหตุที่สำคัญของปัญหาไตวายเรื้อรังในเพศชาย !!! หลายคนชะล่าใจ ว่าเป็นเก๊าต์ ถ้าไม่ปวดก็ไม่ต้องรักษา หรือ ป้องกันบางคนเป็นแล้วรักษาอาการปวดดีแล้ว ก็ไม่รักษาติดตามต่อ ปัญหาคือ มันมีผลต่อไต
เก๊าต์ คือโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบตามข้อต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะเพศชาย
ตำแหน่งที่พบบ่อยคือหัวแม่เท้า ส้นเท้า ข้อเท้า ข้อเข่า และข้อศอก ซึ่งอาการกำเริบของเก๊าท์นั้นจะมีการอักเสบอย่างเฉียบพลันทำให้ปวดมาก ไม่สามารเดินลงน้ำหนักได้ ขยับก็มีอาการปวด
มักจะเกิดหลังจากการดื่มแอลกอฮอล์ หรือรับประทานอาหารประเภทสัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ ยอดผัก เช่น หน่อไม้
สิ่งที่อันตรายในผู้ป่วยโรคเก๊าท์ก็คือ เกิดการตกตะกอนของยูริกที่ไต ทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง พบว่าเพศชายที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังนั้น ประมาณ 60-70% นั้นมีสาเหตุมาจากการเป็นโรคเก๊าท์
สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยละเลยในการรักษาโรคเก๊าท์ เพราะหลังจากรักษาโรคเก๊าท์ในระยะที่มีอาการอักเสบเฉียบพลัน เมื่ออาการปวดหายไปแล้ว ผู้ป่วยก็มักจะนึกว่าหายจากโรค ไม่จำเป็นต้องทานยาลดกรดยูริก ทำให้ปริมาณของกรดยูริกในร่างกายมีปริมาณสูง จึงเกิดการตกตะกอนที่ไต ทำให้การทำงานของไตเสียไป
ปัญหาคือ ไตวาย
การรักษาโรคเก๊าท์แบ่งเป็น 2 ระยะคือ
หลังจากรักษาแล้วก็หมั่นติดตาม ตรวจเลือดเพื่อดูผลของการรักษา ในช่วงแรกอาจจะทุก 3 เดือน ถ้าอาการดีขึ้นอาจตรวจทุก 6 เดือน ค่าที่ต้องติดตามคือ
กล่าวโดยสรุปสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ถ้ามีการอักเสบ ให้รักษาอาการอักเสบก่อนในระยะ 2 สัปดาห์แรก หลังจากอาการอักเสบหายไปแล้ว ไม่มีอาการปวดแล้วก็มาลดปริมาณยูริกด้วยการรับประทานยาลดการสร้างยูริก หรือยาขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ เพื่อไม่ให้เกิดการตกตะกอนที่ไต เป้าหมายที่สำคัญของการรักษาในระยะนี้คือ ป้องกันไตวายในอนาคต
ดังนั้นเมื่อท่านเป็นเก๊าท์แล้ว อย่าได้นิ่งนอนใจว่าไม่ปวด ไม่อักเสบ ไม่มีปัญหา ที่สำคัญคือต้องควบคุมปริมาณของกรดยูริกให้ดี ไม่ให้มีปริมาณสูง ก็จะลดความเสี่ยงต่อร่างกายได้นะครับ
สอบถามปัญหาสุขภาพกระดูกและข้อได้ที่
Line OA: https://lin.ee/swOi91Q หรือ Line ID search @doctorkeng
Website: www.doctorkeng.com
YouTube: https://www.youtube.com/results?search_query=taninnit+leerapun
Facebook:หมอเก่งไขปัญหาปวดกระดูกและข้อ
Blockdit: https://www.blockdit.com/doctorkeng
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกระดูกและข้อ ปัจจุบันทำงานเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
© 2023 Taninit. All rights reserved.