ปวดหลัง รักษาได้ไม่ผ่าตัด
โดย ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์
อาการปวดหลัง นับว่าเป็นปัญหาสำคัญพบได้บ่อยที่สุดของโรคกระดูกและข้อสามารถเกิดขึ้นกับคนทุกวัย ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว วัยทำงานจนถึงวัยผู้สูงอายุสาเหตุของอาการปวดหลังในวัยหนุ่มสาวและวัยทำงานส่วนใหญ่มักเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาทและพฤติกรรมการจัดท่าในการทำงานที่ไม่ถูกต้อง การยกของไม่ถูกวิธีส่วนในวัยผู้สูงอายุสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมกระดูกข้อต่อระหว่างกระดูกสันหลังมีการอักเสบเกิดกระดูกงอกเนื่องจากการเสื่อมมากดทับเส้นประสาททำให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงไปที่บริเวณสะโพก บริเวณด้านหลังของต้นขาและบางครั้งอาจมีการปวดร้าวลงบริเวณน่อง ร่วมกับมีอาการชาบริเวณหลังเท้าและส้นเท้าร่วมด้วย ทำให้ผู้ป่วยทนทุกข์ทรมานจากอาการปวดมีผลต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเมื่อท่านมีอาการและอาการแสดงเกี่ยวกับอาการปวดหลังมีสัญญาณเตือนบางอย่างที่ทำให้ท่านต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหรืออาจจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยพิเศษเพิ่มเติม ได้แก่ มีอาการไข้เมื่อรักษาด้วยการรับประทานยาแก้ปวดแล้วอาการไม่ดีขึ้นผู้ที่มีประวัติเคยเป็นโรคมะเร็งมาก่อนมีอาการปวดหลังร่วมกับมีปัสสาวะเล็ดหรือไม่สามารถกลั้นอุจจาระและปัสสาวะได้มีอาการอ่อนแรงของขา หรือเสียสมดุลของร่างกายมีอาการปวดหลังมากตอนกลางคืนหรือมีอาการปวดมากแม้ไม่ได้ทำงานหรือน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น
การรักษาอาการปวดหลัง ทำได้โดย
การพยากรณ์โรคและคำถามสำหรับการฉีดยา
หลังจากฉีดยาแล้วส่วนใหญ่อาการปวดจะบรรเทาลงในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังฉีดยา หลังจากนั้นอาจจะเริ่มมีอาการปวดขึ้นมาอีกครั้งแต่จะเป็นไม่มากเหมือนกับที่ ปวดในช่วงแรก ต่อจากนั้นก็สามารถใช้ยารับประทาน เพื่อควบคุมอาการปวดได้
ความถี่ในการฉีดยาและผลข้างเคียงนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของยาสเตียรอยด์ที่ใช้ รวมถึงความเชี่ยวชาญของแพทย์ผู้ทำการรักษา ซึ่งโดยปกติแล้วปริมาณยาที่ผมใช้มีปริมาณประมาณ 10-20 มิลลิกรัมของยาสเตียรอยด์ ซึ่งถือว่าน้อยมาก เพราะ ร่างกายของคนเราสามารถรบปริมาณยาสเตียรอยด์ได้ประมาณ 400 มิลลิกรัมต่อปี ที่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงต่อระบบไร้ท่อของร่างกายครับ เทียบกับในอดีตที่มีการฉีดยาในปริมาณที่สูง ซึ่งจากผลของงานวิจัยที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่พบว่าปริมาณยาที่น้อย ได้ผลดีเทียบเท่ากับการใช้ยาในปริมาณที่มาก ดังนั้นสำหรับผมเองการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาทในปัจจุบันจะใช้ยา ปริมาณเพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อระบบต่อมไร้ท่อของร่างกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จึงสามารถฉีดยาได้บ่อยและถี่ขึ้นตามอาการของผู้ป่วย
ส่วนใหญ่หลังฉีดอาการมักจะดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ถ้าไม่ดีขึ้นแสดงว่าน่าจะมีหมอนรองกระดูกขนาดใหญ่มากดทับเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทบวมมาก ถ้าไม่ดีขึ้นจริงๆ อาจจะต้องตรวจ MRI เพิ่มเติม เพื่อดูว่าหมอนรองกดมากหรือเปล่า และอาจจะลองฉีดยาซำ้อีก 5-6 ครั้งร่วมกับการปรับยารับประทาน ถ้าไม่ดีขึ้นจริงๆถึงจะพิจารณารักษาดวยการผ่าตัดครับ
การรักษาปวดหลัง โดยไม่ผ่าตัด ส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลาประมาณ 5-6 เดือน ประมาณ 80% ผู้ป่วยอาการดีขึ้นโดยไม่ต้องผ่าตัดครับ แต่มีโอกาสกลับมาเป็นอีกครั้ง เพราะเป็นกระบวนการเสื่อมของร่างกาย การฉีดยาสามารถฉีดซำ้ได้ตามอาการ ยาที่ฉีดเป็นยาสเตียรอยด์ เป็นยาปริมาณตำ่ๆ ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย จำนวนครั้งของการฉีดยาจะได้ผลหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค ที่เป็น การกดทับของเส้นประสาทมากหรือน้อยเพียงใด ถ้ากดมากๆๆ การฉีดยาอาจจะไม่ได้ผลดี ส่วนใหญ่จะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัดก่อน ถ้ารักษาไปแล้วประมาณ 5-6 เดือนถึง 1 ปี อาการไม่ดีขึ้นเลย หรือมีอาการปัสสาวะลำบาก ก็อาจจะพิจารณาให้การรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อเอาส่วนที่มีการกดทับเส้น ประสาทออก
การรักษาได้ผลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ
1. โรคที่เป็น ว่ามีการกดทับเส้นประสาทมากน้อยเพียงใด ถ้ากดมาก หรือมีพังผืดไปรัดมากก็ไม่ค่อยได้ผลครับ ถ้าเป็นน้อยก็ได้ผลดี
2. พฤติกรรมการปฏิบัติตัว ปวดหลัง ป้องกันได้โดยปรับพฤติกรรม
3. นำ้หนักของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยมีนำ้หนักมากก็จะทำให้มีผลต่อการเกิดแรงกดที่กระดูกข้อต่อสันหลัง เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีอาการปวดและรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงควรลดนำ้หนัก และปฏิบัติตนให้ถูกต้องเพื่อป้องกันการเกิดโรคกระดูกและข้อ
หลังจากฉีดยาแล้วส่วนใหญ่อาการปวดจะบรรเทาลงในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังฉีดยา หลังจากนั้นอาจจะเริ่มมีอาการปวดขึ้นมาอีกครั้งแต่จะเป็นไม่มากครับ ต่อจากนั้นก็สามารถใช้ยารับประทาน เพื่อควบคุมอาการปวดได้ครับ
สอบถามปัญหาสุขภาพกระดูกและข้อได้ที่
Line OA: https://lin.ee/swOi91Q หรือ Line ID search @DoctorKeng
Website: www.doctorkeng.com
YouTube: https://www.youtube.com/results?search_query=taninnit+leerapun
Facebook: หมอเก่งไขปัญหาปวดกระดูกและข้อ
Blockdit: https://www.blockdit.com/doctorkeng
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกระดูกและข้อ ปัจจุบันทำงานเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
© 2023 Taninit. All rights reserved.